12 วิธีรักษาระบบแอร์รถยนต์
1. เกิดคราบน้ำมันบริเวณข้อต่อต่าง ๆอย่าใว้ใจ
คราบน้ำมันตามข้อต่อที่พบจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการรั่วของสารทำความเย็นเกิดขึ้น ดังนั้นท่านเจ้าของรถควรสังเกตุดูว่าตามข้อต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆในระบบแอร์มีคราบน้ำมันหรือไม่ เพราะน้ำมันคอมเพรสเซอร์จะปนอยู่กับสารทำความเย็นในระบบดังนั้นเมื่อสารทำความเย็นรั่วก็จะเกิดคราบน้ำมันปรากฎให้เห็น วิธีแก้ไขเบี้องต้นคือถ้าพบจุดรั่ว หรือคราบน้ำมันต้องทำการขันข้อต่อให้แน่นเพื่อที่จะหยุดการรั่วของสารทำความเย็น จุดที่สามารถพบเห็นการรั่วได้บ่อยๆ คือ ตามจุดข้อต่อต่าง ๆ ของท่อแอร์ ตามซีลและปะเก็นขอคอมเพรสเซอร์ ถ้าไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้หรือไม่มั่นใจว่าแก้ไขได้เรียบร้อยควรนำรถไปให้ผู้เชี่ยวชาญหรือร้านแอร์ที่ท่านสามารถไว้วางใจได้ตรวจเช็ค
2. พบอาการ compressor air ตัดบ่อย
สาเหตุมักเกิดจากตัวเทอร์โมสตรัทหรืออุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ เพราะในปัจจุบันรถยนต์มักใช้เทอร์โมสตรัทแบบอิเล็กทรอนิกส์(Electronics Type) ซึ่งไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ข้อดีของเทอโมสตรัทชนิดนี้คือการทำงานจะแม่นยำและละเอียดกว่าแบบอื่น ๆ หากท่านนำรถไปล้างตู้แอร์ซึ่งเพื่อความสะอาดช่างจำเป็นต้องทำการถอดชิ้นส่วนต่างๆออกจากกัน แต่ช่างบางท่านที่ไม่ชำนาญอาจถอดออกแล้วติดตั้งคืนไม่ถูกตำแหน่งเดิม อาจติดตั้งตัววัดอุณหภูมิชิดกับครีบอีแวปพอเรเตอร์มากเกินไปหรือติดตั้งตัววัดอุณหภูมิในตำแหน่งที่ต่ำกว่าจุดอื่น ๆ ของอีแวปพอเรเตอร์ทำให้เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน โดยเฉพาะในเวลาที่รอบเครื่องสูง ๆจะเกิดอาการตัดบ่อยส่งผลต่อการทำงานของระบบแอร์
3. เจอรอยรั่วหลังแปลงระบบ
หากรถของท่านมีระบบเป็น R12 และเปลี่ยนระบบเป็น R134 จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนซีลยางและโอริงทุก ๆตัว โดยซีลยางในคอมเพรสเซอร์ระบบเดิมๆเป็น R12 จะเป็นชนิด NBR(Nitrile Butadiene Rubber) แต่ของระบบ R134a จะเป็นชนิด HNBR ซึ่งหากเปลี่ยนระบบใหม่แล้ว ไม่เปลี่ยนซิลและโอริงด้วยก็จะทำให้ระบบเกิดการรั่วตามมาได้
4. ควรล้างตู้แอร์เมื่อไหร่?
หลายท่านสงสัยว่าการล้างทำความสะอาดตู้แอร์สักครั้งจะใช้เงื่อนไขของเวลา หรือระยะทางดีเพราะรถยนต์แต่ละคันก็ผ่านการใช้งานต่างกันบางคันใช้งานมาแค่ปีเดียวแต่วิ่งเป็นระยะทางกว่า 100,000 กม.ในขณะบางคัน 1 ปีอาจใช้งานแค่ 10,000 กม.ก็มีดังนั้นหากใช้เกณฑ์เฉลี่ยจึงขอแนะนำท่านเจ้าของรถว่าควรทำการล้างตู้แอร์ประมาณทุก ๆ 1 ปี หรือราวๆ 20,000 กม. แนะนำให้ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ด้วยพร้อมกันเลย เพื่อยืดอายุการใช้งานของระบบแอร์รถยนต์ให้ยาวนาน
5. ควรเปลี่ยนวาล์วแอร์ตอนไหนถึงจะเหมาะ
ไม่มีอะไรที่บอกได้แบบเฉพาะเจาะจงว่าต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนเมื่อไหร่ เพราะอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วทางผู้ผลิตรถแนะนำเอาไว้ที่ระยะทางประมาณ50,000 กม. หรือเป็นเวลาประมาณ2 ปีกว่า เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วนั้นหากมีปัญหาระบบปรับอากาศรถยนต์จะมีปัญหาตามมามาก บางทีอาจส่งผลต่อระบบการฉีดสารทำความเย็นทำให้เกิดการผิดพลาดได้ นอกจากนั้นสาเหตุสำคัญที่มักจะเสียหายคือการอุดตันบางครั้งเกิดจากการเสื่อมของสปริงภายในตัววาล์ว แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ไปเลยครับ อย่าฝืนใช้เพราะถ้าหากมันงอแงขึ้นมาก็ต้องเสียเวลาในการถอดเปลี่ยนอยู่ดี
ดรายเออร์มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกในระบบปรับอากาศโดยกรองสิ่งสกปรกที่ปะปนมาพร้อมๆ
กันกับสารทำความเย็นในระบบนอกจากนั้นยังมีหน้าที่ดูดความชื้นที่เกิดขึ้นในระบบแล้วมาเก็บใว้ที่กระบอกของตัวเอง ซึ่งสารดูดความชื้นนี้ก็มีวันหมดอายุเมื่อถึงจุดอิ่มตัว โดยแนะนำให้เปลี่ยนทุกๆระยะทางประมาณ 30,000 กม. หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
7. ปัญหาคลัตซ์แอร์ผิดปรกติ
การขับรถลุยน้ำบ่อยๆนั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คลัตซ์คอมแอร์เป็นสนิมได้ และอาการแมก
เนติกคลัตซ์มีการลื่นไถลหรือมีการตัดต่อบ่อย อาจจะไม่เกี่ยวกับการตั้งอุณหภูมิแต่อาการลื่นไถลอาจมาจากความสกปรกของหน้าสัมผัส เช่นเป็นสนิมหรือมีวัสดุเข้าไปติดขัด ซึ่งรถบางรุ่นประมาณ 100,000 กม.หรือบางรุ่น 80,000 กม.ก็เริ่มมีอาการก็เริ่มส่งเสียงดัง แก๊กๆบ้าง หรือหน้าคลัตซ์จับบ้างไม่จับบ้าง ซึ่งจะส่งผลต่อความเย็นซึ่งหากเกิดอาการเช่นนี้แล้ว แนะนำให้รีบหาผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คด่วนครับ
8. ตู้อลูมิเนียมกับตู้ทองแดงต่างกันอย่างไร
ท่านผู้ใช้รถคงต้องมีการสงสัยกันบ้าง รถรุ่นก่อนๆทำไมตู้แอร์ใช้ได้ทนทานนานเป็น 10 ปีแต่เดียวนี้อาจมีบ่นว่ารถเพิ่ง 5 ปีเอง ตู้รั่วมีปัญหาซะแล้ว ข้อดีของตู้อลูมิเนียมก็มีครับคือเปิดปุ๊บเย็นปั๊บและตู้ที่ทำจากทองแดงมีความทนทานต่อการผุกร่อนมากกว่า อลูมิเนียมแต่ในเรื่องของน้ำหนักและคุณสมบัติในการนำความร้อนต้องยอมรับว่าทองแดงด้อยกว่าอะลูมิเนียม แต่ในปัจจุบันมีตู้บางรุ่นใช้วิธีผสมผสานโดยใช้วิธีแก้จุดด้อยคือบริเวณท่อน้ำยาที่คดไป-มาซึ่งมักจะผุกร่อนง่ายก็จะใช้ทองแดง แต่ครีบจะทำจากอะลูมิเนียมเพราะมีการนำความร้อนได้ดีกว่านั่นเอง
9. จะล้างตู้แอร์แบบไหนดี
ตามหลักการ การถอดตู้แอร์ออกมาล้างย่อมสะอาดกว่าเนื่องจากเป็นการถอดชิ้นส่วนรวม
ถึงส่วนเล็กๆออกมาทำความสะอาด ส่วนการล้างแบบไม่ถอดนั้นจะสะดวกและประหยัดเวลากว่าแต่ความสะอาดหมดจดคงต่างกันแน่นอนแต่ถ้าคุณดูแลรักษา ตู้แอร์เป็นประจำ ล้างแอร์เป็นประจำอยู่แล้วการล้างโดยไม่ถอดตู้ก็คงจะเพียงพอที่จะช่วยให้ตู้แอร์คุณมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นได้ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่เต็มที่ได้ เพราะระยะเวลาทุก ๆ 20,000 กม.คราบสกปรกคงไม่มากนักแต่ในความเป็นจริงของผู้ใช้รถน้อยคนนัก ต้องบอกว่าน้อยถึงน้อยมากที่จะดูแลและไม่เคยล้างเลย แล้วจู่ ๆ เกิดมีอาการตู้แอร์ตันขึ้นมาอย่างนี้แน่นอนว่าคราบสิ่งสกปรกมันคงจะมีมากก็สมควรที่จะถอดมาล้างจะดีกว่า
10. พัดลมกับคอมเพรชเซอร์ของคู่กัน
อาจทำงานคู่กันเหมือนเป็นการทำงานเป็นระบบ และเมื่อมีอาการเสียงดังแก๊กๆหรือรอบพัดลมตกจะรู้ได้เช่นไรก็ต้องอยู่ที่ผู้ใช้รถต้องหมั่นตรวจเช็คครับลองติดเครื่องแล้วดูว่าพัดลมรอบตกไหมหรือมีเสียงดังไหม รถบางรุ่นถ้าพัดลมหน้า CONDENSER เสียจะส่งผลต่อระบบแอร์โดยตรง ทำให้ระบบระบายความร้อนไม่ได้เกิดความร้อนขึ้นหรือที่เรียกว่า ฮีทนะครับ จะส่งผลต่อ COMPRSSOR ทำให้เกิดแรงดันสูงเกิดการรั่วผิดปรกติตามมา ในที่สุดระบบแอร์ก็เสีย คอมน๊อคเป็นต้น
11. CONDENSER (แผงแอร์) ควรดูแลอย่างไร
12. วิธีถนอมและยืดอายุใช้งานแอร์รถ
การใช้งานและดูแลเรื่องระบบแอร์ตามจุดเล็ก ๆ น้อยๆก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้เช่นไม่ปรับตำแหน่งของเทอร์โมสตรัทไปที่ Cool อยู่ตลอดเวลา จะช่วยถนอมคอมเพรสเซอร์ไม่ให้ทำงานหนักตลอดเวลาหรือไม่เปิดกระจกเมื่อเปิดแอร์เพราะคอมเพรสเซอร์จะทำงานหนักขึ้น อาจใช้วิธีปิดการทำงานของคอมแอร์แต่ยังเปิดพัดลมอยู่ก่อนที่จะจอดรถ อย่างน้อยประมาณ 5 นาที จะช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์ และลดกลิ่นอับชื้นและเชื้อราได้ด้วย และหมั่นล้าง ตรวจเช็คระบบแอร์สม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการผิดปกติ รีบนำไปพบช่างอย่าปล่อยไว้นานมิฉะนั้นท่านอาจต้องพบสุภาษิตที่ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ก็ได้นะครับ
เรียบเรียงโดย
ทีมงานสง่ามอเตอร์
สาขาบางนา โทร. 02-3165344-5 Fax : 02-3160465
สาขารังสิต โทร. 02-9017744-5 Fax : 02-9017745
สาขาพระราม 3 โทร. 02-2915955 Fax : 02-2915956
E-mail : [email protected]